2009 : MERZ ART SPACE ,BKK
Photographers commit a crime

I absolutely agree with the notion claiming that “We, in all probability of photography, are able to control what’s being captured, but never how it’s published.” But what, then, is the original purpose of publishing? “Intention” is obviously one of the answers. In prior era of photography, it mainly functioned to capture an evidence of occurrence and “truth”, substituting words of mouth. In our modern time, most of them are being published to be “propaganda” than merely evidence. The terrifying power of the propaganda is like one of a haunting “phantom”, in the sense that they are both never perceived; still they do overpower the minds. Out of words being already told, we deduce that “Ghosts are darn scary”, when that ghost is never actually aware of how scary it appears to us itself. What matters here is the “words” delivered to us, words that lead to belief and imagination. We may never even confront with ghost, but we do believe that it exists, drawn out of fracture of stories we were told in our childhood, motion pictures we saw and literature we read. Consequently, the made believe notion causes the fear in us all along. Hence, I choose to relate “ghost and photographer” in comparison, for both of them may not know that their “products” are playing the role of “propaganda”, either with or without awareness.

“Photographers commite a crime” portrays social commentary revolving around matter of adolescence. The first variable is “specimen of people in advertising and media career” being compared as a “ghost”. Targeting on adolescence that are quite convincible, they build up persuasive motivation to Thai teenagers. The media selfishly creates “mythic” concepts in youngsters’ minds, without careful consideration, only hoping for their own advantage.

You just couldn’t agree more, could you?

Grownups name “Wans” riders as garbage, racing the night illegally out on street, falsely imitating their heroes in the ads.
Grownups never figure about the fact that 6 year old girl tried to whiten her complexion with detergent, for the media says women with fair skin are attractive.
Grownups curse kids doing prostitution, hypocritically all the deeds are done in exclusive clubs arranged by authority.
Grownups blame teenagers in trying to be westernized, forgetting that all Thai media is filled with everything western.
Grownups massively use teenage celebrities in car advertisements, despite awareness of young people’s lack of financial support.
Grownups advertise low-cost cosmetics with superbly beautiful female stars, regardless of obvious fact that they never actually use those cheap products.
Grownups disdain early sex act in teenagers, when sadly there are granted pornography displayed around on shelves.
Grownups say drug usage as social problem is caused by teenagers being won over, but liquor advertising is mainly led by young superstars.
Therefore, I’ve ferreted out that advertising and propaganda have been greatly influencing teenagers by unconcernedly convincing them.
“To figure what’s real and to have assertion of free thought” is somehow what’s perceived through the eyes of “freedom”. Media agencies are well aware of the fact that people of young age crave liberty of mind, thought, a way to express themselves and to originate something at all. Those characteristics are captured as teenage Achilles’ heels. They carelessly lead the kids astray, only hope for their benefits, neglecting bigger social problems that ensue and let the kids be their scapegoats.
I heartily anticipate seeing any responsibility from Thai media towards our society, either in the aspects of ethic and morality of their career, things to be concerned on rather than their own welfare and financial status.
…And may they realize how their blindingly superficial “haunted” career has been sinning upon innocence and purity of youth…

Chardchakaj Waikawee

ฉันเพิ่งฆาตกรรมวัยรุ่นด้วยภาพถ่าย (Photographers commit a crime)

ข้าพเจ้ามีความเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับความคิดว่า “เราสามารถควบคุมการถ่ายภาพได้ เเต่ไม่สามารถควบคุมการเผยเเพร่ของภาพถ่ายได้ ” เเล้วหากว่าลองวิเคราะห์ลงไปถึงจุดมุ่งหมายของการเผยเเพร่ของมันคืออะไร? “เจตนา” น่าจะเป็นหนึ่งในคำตอบที่เห็นชัดที่สุดว่าจริงๆเเล้วเป้าหมายที่เเท้จริงของการถูกเผยเเพร่นั้นทำเพื่อสิ่งได ภาพถ่ายในยุคเเรกต้องการเผยเเพร่เพื่อนำเสนอ”ความจริง” เพื่อเเทนการบอกเล่า เเต่ในสมัยนี้มีภาพถ่ายบางประเภทถูกเผยเเพร่เพื่อ”ทำให้เชื่อ”มากกว่าการบอกเล่า ความน่ากลัวของการถูกบังคับให้เชื่อนั้น เหมือนดังเช่น “ผี” ที่เรามักกลัวก่อนเห็นหรือว่าเชื่อกันไปตามคำบอกเล่า เพราะในใจเราต่างคิดไปเเล้วว่า” ผีนั้นน่ากลัว” ซึ่งตัวของผีเองคงไม่รู้ว่าตนน่ากลัวเพียงใด เเต่คนที่นำมาเล่าต่างหากที่สร้างความเชื่อให้พวกเขาเหล่านั้น”เชื่อไปเเล้ว” เราเองอาจไม่เคยเห็นผี เเต่ในมโนคติของเราที่ถูกสร้างให้เชื่อ เรื่องเกี่ยวกับผี ไม่ว่าจะจาก เรื่องเล่าตั้งเเต่เด็ก จนปัจจุบัน ภาพยนต์ ตัวหนังสือต่างๆ ล้วนสร้างจินตนาการ ความเชื่อเเละเป็นบ่อเกิดให้ความกลัวในใจตลอดมา ข้าพเจ้าจึงเลือกเปรียบเทียบผีเสมือนดั่งช่างภาพ ที่ต่างไม่รู้ตัวว่าภาพถ่ายของตนได้ “หลอกให้ผู้อื่นเชื่อ” โดยที่ตัวผีช่างภาพเองนั้นทราบหรือไม่ทราบก็ตาม งานศิลปะของข้าพเจ้าต้องการสะท้อนถึงส่วนหนึ่งที่เป็นบ่อเกิดของปัญหาวัยรุ่นในสังคมซึ่งข้าพเจ้าเลือกใช้คนกลุ่มหนึ่งในอาชีพโฆษณาเป็นสัญลักษณ์เเทนค่า”ผี ” เนื่องจากมีการโฆษณาที่มุ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นส่วนใหญ่ใช้ภาพถ่ายเป็นส่วนประกอบสร้างเเรงจูงใจเเละโน้มน้าวใจ ครอบงำทัศนะคติของเยาวชนไทย และมายาคติของวัยรุ่นนั้นซึ่งไม่ได้มองถึงผลลัพท์ที่จะตามมา หวังเพียงเเค่รับใช้นายทุนเเละให้ตัวเองมีชีวิตรอดเพียงเท่านั้น

คุณคิดเหมือนผมไหมครับ ผู้ใหญ่ตราหน้าเด็กเเว๊นส์ว่าเป็นขยะสังคม จริงๆเเล้วพวกเขาทำไป เพียงเเค่อยากทำตามฮีโร่นักดนตรีที่บริษัทโฆษณาผลิตนำมาหลอก ผู้ใหญ่ไม่อยากรับรู้ว่าเด็กสาววัย6ขวบนำผงซักฟอกมาขัดตัว เพราะอยากขาว เหมือนดั่งผลิตภัณฑ์ที่กล่าวถึงนางเอกว่าความงาม คือความขาว ผู้ใหญ่ด่าวัยรุ่นไร้สมองเเห่ขายตัวทั้งที่เลาจน์หรือผับระดับเอกซ์คลูสีพนั้นก็มีล้วนเปิดโดยผู้ใหญ่เเละผู้ใหญ่ไปใช้บริการ
ผู้ใหญ่บ่นว่าเด็กไทยนั้นลืมกำพืดอยากเป็นเหมือนคนชาตินู้นนี้ แต่โฆษณาทั้งหลายก็ไม่เคยสนับสนุนให้ใช้กำพืดของความเป็นไทย
ผู้ใหญ่เลือกพรีเซนเตอร์รถยนต์เป็นวัยรุ่นทั้งๆที่รู้ว่าเด็กเหล่านี้ยังไม่สามารถหาเงินมาซื้อรถได้ด้วยตัวเองเเต่ไม่สนใจว่าเด็กจะหาเงินมาซื้อด้วยวิธีใด ผู้ใหญ่ใช้ดาราเป็นพรีเซ็นเตอร์เครื่องสำอางค์ราคาถูกซึ่งทุกคนรู้ว่าดาราสาวผู้นั้นไม่มีทางใช้สินค้านั้นเเน่นอน
ผู้ใหญ่ด่าเด็กวัยรุ่นมีเซ็กส์กันง่ายดายไร้สำนึกเหมือนที่ร้านสะดวกซื้อมีเเต่หนังสือเเอบถ่ายของลับดาราขายที่ชั้นขายหนังสือที่ผู้ใหญ่อนุมัติ
ผู้ใหญ่ด่าเด็กวัยรุ่นติดยา เเต่โฆษณาเหล้าส่วนใหญ่วางบทตัวเอกให้เป็นวัยรุ่นแทบทั้งสิ้น

ข้าพเจ้าได้ค้นพบข้อเท็จจริงถึงการมอมเมาเยาวชนจากอาชีพโฆษณาด้วยการทำให้เชื่อเเละชักจูงให้คล้อยตามอย่างไร้ศีลธรรมโดยไม่สนปัญหาในอนาคต “การมองเห็นเเละสิทธิที่จะคิดตาม” เป็น ความรู้สึกของผู้มองในเเง่ของ “เสรีภาพ” ซึ่งผู้ผลิตงานรู้ดีว่า ภาพเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และเลียนแบบได้มากที่สุด วัยรุ่นเป็นวัยที่โหยหาอิสระทางความคิดเเละเสรีภาพในการเลือกใช้ชีวิต จึงนำจุดอ่อนนี้มาหาประโยชน์เพื่อสนองความอยู่รอดของตัวเอง โดยไม่ตระหนักถึงผลที่จะตามมา หวังเพียงเเค่ตัวเองอยู่รอด มีชีวิตที่สบาย ไม่ต้องมีหน้าที่รับรู้ปัญหาสังคม เเละโยนความผิดให้เยาวชนให้รับสิ่งมักง่ายที่ตนสร้าง ข้าพเจ้าหวังว่าในอนาคตวงการโฆษณาจะรับผิดชอบการผลิตบ่อเกิดปัญหาในสังคมโดยการตระหนักถึงจริยธรรมเเละคุณค่าในอาชีพของตนเองมากกว่าจะทำเพื่อให้ชีวิตตนเองได้อยู่รอดโดยไม่สนใจอนาคตของชาติ เเละโปรดระลึกไว้เสมอว่าในช่วงชีวิตหนึ่งของผีที่สิงในอาชีพที่ดูโก้เก๋นั้นตนเคยได้หลอกลวงเเละทำบาปต่อเยาวชนผู้บริสุทธิ์ไปเท่าใด

ชาติฉกาจ ไวกวี

02

06

07

05

IslBG