“YOUTH” is an exhibition of photography and image installations capturing a group of street teenagers in Bangkok city. They are not educated. They do not have any family. They live without any rights and without recognition of their achievements in this metropolis. The idea of identity card is irrelevant to them as they exist in social displacement. These youths have created their own law, refusing to abide to any moral values. Their code of conduct is based on the survival of daily struggles. To them, “breath” bears the truth of reality, holding far more importance than romantic ideas of “happiness”.
However, driven by flushes of hormones, the teenagers seek out youthful pleasures and their activities are often seen as violent and dangerous. Unlike the common public, Chardchakaj Waikawee acknowledges their ability to survive and create pleasure for themselves. They should be respected for their human qualities and not discriminated as outcasts of society. As most people judge these groups of individuals, they should reflect upon themselves, their dependency on others, and their incompetence in establishing their own worth.
Chardchakaj photographed and spent time with a group of teenagers living around his neighborhood. Using old cameras and cheap expired films, the artist develops his images without any scanning, dusting, or post-editing of the negatives. There is no computer processing involved. His technical processes correlate to the rough and raw livelihood of street youths. As they never enjoy the privilege of having “choices” and have not received support from anybody, their birth and death affect noone. Chardchakaj’s photography humbly follows this fate.
YOUTH ” เป็นนิทรรศการภาพถ่าย ที่พูดถึงวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร วัยรุ่นที่ไม่มีการศึกษา ไม่มีครอบครัว พวกเค้าดำรงชีวิตอยู่ในเมืองกรุง โดยที่ไม่เคยได้รับสิทธิเเละไม่รู้ว่าตนสามารถทำอะไรได้บ้างในเมืองใหญ่นี้ สำหรับพวกเค้าบัตรประชาชนเป็นสิ่งไร้ความหมาย เพราะพวกเค้าคือกลุ่มคนที่ไร้ตัวตนในสังคม พวกเค้ามีลมหายใจเพื่อคำว่า “วันนี้” เค้าจึงเลือกใช้ชีวิตในกฎเกณฑ์ที่พวกเค้าตั้งขึ้นเอง ไม่มีถูกเเละผิด ไหลไปตามชะตากรรมวันต่อวัน ความสุขเเละรอยยิ้มจึงเป็นความสำคัญที่รองลงมาจาก “การมีลมหายใจ” โดยใช้ชีวิตเเบบรู้บ้างไม่รู้บ้าง เเต่ด้วยความเป็นวัยรุ่น ฮอร์โมนที่เเผ่ออกจากจิตใจนั้นทะลักสู่ผิวหนัง นั้นเรียกร้องให้ตัวพวกเขาโหยหาความสุขเเห่งวัย สิ่งที่พวกเค้าเป็นเเละเเสดงออกนั้น อาจดูรุนเเรงและอันตรายในสายตาของคนทั่วไป เเต่ชาติฉกาจกลับมองในมุมกลับกันว่า เราควรเคารพยกย่องพวกเค้าในฐานะความเป็นมนุษย์ เพราะพวกเค้าล้วนสามารถประคองชีวิตให้มีชีวิตรอดเเละมีรอยยิ้มได้ด้วยตัวเองโดยลำพัง ต่างจากคนทั่วไปที่จ้องมองเหยียดหยามพวกเค้าว่าเป็นส่วนเกินเเละขยะของสังคม โดยที่ตัวเองนั้นยังมีชีวิตโดยการพึ่งลมหายใจเเละการดูเเลเลี้ยงดูจากผู้อื่นโดยไม่สามารถหาคุณค่าของตัวเองได้
ด้านเทคนิค ชาติฉกาจตระเวนถ่ายภาพเเละใช้ชีวิตกับกลุ่มวัยรุ่นละเเวกบ้านของเขา โดยใช้กล้องราคาถูกสภาพพังยับเยินรุ่นที่คนไม่นิยม ฟิลม์หมดอายุ ล้างฟิล์มจากแล็บที่ไร้คุณภาพ อัดภาพจากรูปโดยไม่เเสกน ไม่มีการตกเเต่งภาพ หรือเเม้เเต่กำจัดฝุ่นจากฟิลม์ ไม่มีกระบวนการรีทัชจากคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อให้เชื่อมโยงกับเด็กเหล่านี้ ที่ใช้ชีวิตตามมีตามเกิดไม่รู้วันคืนที่ผ่านไป เลือกอะไรไม่ได้ ไม่ได้รับการดูเเลการจัดการจากผู้ใด เกิดเเละตายไปโดยไม่กระทบกระเทือนใคร
ชาติฉกาจทลายกำแพงของคำว่า “คุณภาพของภาพถ่าย” ด้วยความหมายของคำว่า “การมีชีวิตอยู่ของมนุษย์” ภาพถ่ายที่ไร้คุณภาพสำหรับวงการภาพถ่ายอาจเป็นภาพถ่ายที่มีค่าสำหรับความเป็นมนุษย์ก็ได้